ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ
หมวดหมู่ : Book ,  หนังสือการเมืองและสังคม , 
Share
งานเขียนชิ้นสำคัญคือ "สัญญาประชาคม" (The Social Contract, 1762.) มองว่ารัฐบาลคือผู้ที่ประชาชนมอบหมายสิทธิอำนาจ ให้ปกครองเพื่อประโยชน์ร่วมกันของประชาชนทั้งหมดและประชาชนจะถอนสิทธิอำนาจนี้ได้ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามสัญญาสังคม แนวคิดในเรื่องนี้ของเขาได้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติในฝรั่งเศสและการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ เขาเห็นว่าความชั่วเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยเฉพาะการที่ทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งมิใช่สิ่งที่ทุกคนมี สังคมยุคนั้นจึงเป็นสัญญาประชาคมชนิดที่ฉ้อฉล มีไว้เพื่อสนับสนุนความไม่เสมอภาค
"....มนุษย์เกิดมาเสรี และถูกพันธนาการอยู่ทั่วทุกแห่งหนผู้ที่คิดว่าตัวเองเป็นนายของคนอื่นๆ จริงๆแล้วกลับเป็นทาสมากกว่าพวกทาสเหล่านั้น
คราบเท่าที่ประชาชนถูกบังคับให้เชื่อฟังและก็เชื่อฟังเขาก็ทำดีแล้ว แต่ทว่า เขาจะทำดียิ่งขึ้นหากเขาสลัดแอดออกจากบ่าในทันทีที่เขาสามารถสลัดได้เมื่อมีใครถือสิทธิเข้าแย่งชิงเสรีภาพไปจากประชาชน ประชาชนก็ย่อมจะมีสิทธิเช่นกันที่จะยื้อแย่งเสรีภาพกลับคืนประชาชนมีสิทธิเสรีภาพจะกู้เสรีภาพของตนได้ แต่ไม่มีใครที่จะมีสิทธิเอาเสรีภาพไปจากประชาชน..."