"กบฏชาวนา : มูลฐานจิตสำนึกในอินเดียยุคอาณานิคม" เล่มนี้ เขียนโดย "รณชิต คูหา" และแปลเป็นภาษาไทยอย่างทั้งราบรื่นและแหลบคม โดย "ปรีดี หงษ์สต้น" เป็นตัวอย่างของประวัติศาสาตร์ฉบับประชาชน ที่สะท้อนว่า ประชาชนกระทำอะไร ประชาชนถูกกระทบโดยอำนาจโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างไร และประชาชนต่อาต้นความโหดร้ายป่าเถื่อนของผู้มีอำนาจอย่างไร แทนที่จะเล่าเขียนว่า ยุคอาณานิคม อังกฤษในอินเดียเป็นช่วงที่อังกฤษได้ครอบงำควบคุมคนอินเดียอย่างมิดชิด
"คูหา" กลับเขียนประวัติศาสตร์อินเดียยุคอาณานิคมอังกฤษฉบับใหม่ เป็นฉบับประชาชน โดยการเขียนประวัติศาสตร์ของกบฏชาวนาจากมุมมองชาวนา และโดยการวางเอาชาวนาเป็นผู้กระทำหลักของเรื่อง ความคิดและจิตสำนึกของชาวนาเองเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมีกบฏ และการเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมือง ทั้งยังทำให้ประวัติศาสตร์เดินหน้าต่อไป ประวัติศาสตร์ที่ผู้อ่านจะได้พบในเล่มนี้ไม่ใช่ของผู้มีอำนาจ แต่เป็นของผู้ที่กำลังจะไปคว้าเอาอำนาจนั้นมา!