ปี 1991 บรูซ ริชเดินทางไปรัฐโอริสสาและเพ่งมองไปยังศิลาจารึกมากมายที่จักรพรรดิอโศกแห่งอินเดียสร้างไว้กว่า 2,200 ปีก่อนเขาฉงนสนเท่ห์ไปกับศิลาจารึกซึ่งประกาศถึงขันติธรรมทางศาสนา การอนุรักษ์ การไม่ใช้ความรุนแรง การปกป้องสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ และสิทธิมนุษยชน ริชถูกดึงเข้าสู่โลกของพระเจ้าอโศกพระองค์คือผู้พิชิตผู้เปลี่ยนมาสมาทานพุทธศาสนาหลังสงครามนองเลือดครั้งใหญ่ แต่จักรวรรดิของพระองค์กลับวางอยู่บนระบบการเมืองที่ให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งทางวัตถุและการเมืองที่ไร้ศีลธรรม เกาฏิลยะคือผู้ที่ทำให้ระบบเช่นนั้นสมบูรณ์ขึ้น เขาคือรัฐบุรุษผู้เขียนคัมภีร์เศรษฐศาสตร์ฉบับแรกของโลก ในการวิพากษ์อย่างทรงพลังของกระแสคลื่นโลกาภิวัฒน์ ริชเรียกร้องให้มีจริยธรรมโลกแบบใหม่อย่างเร่งด่วน ด้วยการกลั่นกรองสารของพระเจ้าอโศกและเกาฏิลยะได้อย่างถูกเวลา พร้อมกับสะท้อนถึงนักคิดจากยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่อริสโตเติลและอดัม สมิธ จนถึง จอร์จ โซรอส
"ผมตะลึงกับสิ่งที่บรูซ ริชเขียนในหนังสือที่น่าอัศจรรย์เล่มนี้ เขามองย้อนกลับไปในอดีตนับพันปี เพื่อผลิตงานที่สร้างแรงบันดาลใจต่อสำนึกทางจริยธรรม ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนในโลกปัจจุบัน นับเป็นหนังสือที่ช่วยให้ชาญฉลาด ลึกซึ้ง และวางไม่ลง"
-เจมส์ กุสตาฟ สเพท
อดีตคณบดีมหาวิทยาลัยเยล สาขาวิชาป่าไม้และสิ่งแวดล้อมศึกษา
และอดีตฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ