1119 จำนวนผู้เข้าชม |
เนื่องในเดือนแห่งความหลากหลายอย่างนี้ พวกเราชาว HOC ขอร่วมฉลองโดยการนำเสนอ Short stories Pride month edition โดยที่พวกเราจะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับ definitionน่ารู้ 3 คำคือ
• Gender, Queer, Lesbian
ว่ามันมีความสำคัญอย่างไรในเรื่องของความหลากหลายและเกี่ยวข้องอะไรกับการที่เราจะส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
เพราะเรื่องเพศมีมากกว่าแค่ความเป็นชาย และความเป็นหญิง
.
.
.
Gender คืออะไร?
Gender (n.) : เพศสภาพ บทบาท พฤติกรรมและคุณลักษณะทางเพศที่สังคมหล่อหลอมประกอบสร้างให้ผู้คน เช่น ความเป็นชาย(masculinity) และ ความเป็นหญิง (femininty) แต่แท้จริงแล้วตัวเราเกิดมาล้วน genderless หรือที่เรียกว่า ‘ไม่มีเพศ’ แต่กลับถูกสังคมมากำหนดกฎเกณฑ์ให้ซะงั้น!?
ซึ่งการที่สังคมพยายามที่จะสร้าง Gender Stereotypes ผ่านช่องทางการเรียนรู้และสื่อต่างๆ ให้เรา generalize ว่าเพศไหนควรควรหรือไม่ควรทำอะไร หรือแม้แต่การกำหนดว่าเพศชายจะต้องทำสิ่งนั้น เพศหญิงควรจะเป็นอย่างนี้ ส่งผลให้คนที่ไม่ได้ตรงตามภาพจำที่สังคมสร้างขึ้นถูกผลักออกไปให้อยู่ชายขอบ โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติตามบทบาทไหนที่สังคมต้องการ หรือไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นเพราะรู้สึกไม่ตรงกับเพศของตัวเอง
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แย่ๆ ที่จะมาพร้อมกับความอคติในใจ พวกเราควรที่จะมองโลกจากหลายๆ มุมมอง เรียนรู้ว่าโลกของเราไม่ได้มีเพียง 1 หรือ 2 แต่ยังมี 3,4,5,… นั่นคือความหลากหลายที่มาช่วยเติมเต็มทำให้เราเป็นมนุษย์ได้อย่างลงตัว
.
.
ในส่วนของหนังสือที่เราแนบติดมาด้วยนั้นน
• หนังสือ เดเมียน นำเสนอเรื่องราวการค้นหาตัวตนของซินแคลร์ โดยเล่าตั้งแต่วัยประถมจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทั้งยังบรรยายความรู้สึกสับสนในตัวเอง ฉันคือใคร ฉันควรศรัทธาอะไร ควรเลือกเส้นทางชีวิตอย่างไร หรือแม้แต่การเลือกเพศ สิ่งเหล่านี้เราๆ ล้วนคุ้นเคยและเผชิญกับพวกมันมาแล้ว ทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครได้อย่างไม่ยากเย็น อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ยังแฝงข้อคิดดีๆอีกมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะล้มอีกกี่ครั้ง พลาดอีกกี่หน ชีวิต คือสิ่งที่เราเลือกได้ จงยินดีกับการเป็นอยู่ จงเห็นคุณค่าในตนเอง เพราะทุกสิ่งที่เราเผชิญล้วนแล้วแต่หล่อหลอมให้เราเป็นเราจนถึงทุกวันนี้ อย่าให้กรอบที่สังคมสร้างมาบดบังคุณค่าที่อยู่ในตัวเรา จงรักและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างมีความสุข
.
.
.
.
Queer [adj.] ประหลาด, พิลึก
—แปลเป็นภาษาไทยว่า “เพศวิภาษ” หมายถึง เพศที่ไม่ได้อยู่บนบรรทัดฐานใดๆ
เป็นกระบวนทัศนที่พยายามจะตั้งคำถามว่าบรรทัดฐานอะไรที่กำหนดสิ่งที่เรียกว่า “เพศปกติ” และ “เพศผิดปกติ” ใครเป็นผู้นิยามและทำไมต้องจัดหมวดหมู่ “เพศ” ออกเป็นคู่ตรงข้ามด้วย
สำหรับพวกเรา มีความเห็นว่าการต่อสู่ของเควีย์ไม่ใช่เพื่อการสร้างความเท่าเทียมทางเพศหรือทำให้มีความรู้สึกอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง แต่มันคือการท้าทายความเชื่ออุดมการณ์ทางสังคมที่ฝังรากลึกจนทำให้เราขยับเขยื้อนไม่ได้ และการที่เราขัดขืนไม่ใช่การพยามหลุดออกจากการปกครองนั้น แต่เป็นการต่อสู้ขัดขืนกับตัวเองให้มากขึ้นเพราะถ้าเราถูกจัดให้เป็นคนไม่ปกติ เราก็ควรที่จะต่อสู้เพื่อให้เป็นคนปกติ…
Queer พยายามชี้ให้เห็นว่าเราแต่ละคนก็ต่างซึมซับเอาความคิดเรื่อง “ความปกติ” มาอยู่กับตัวเอง ไม่ได้ต้องการที่จะขัดขืนต่อระบบการปกครอง แต่ก็ไม่ยอมที่จะเป็นผลผลิตของสิ่งที่เรียกว่า “ระบบการปกครองแห่งความเป็นปกติ” (regimes of the normal) ด้วยเช่นกัน.
|Regimes of the normal : การเมืองที่ใช้ความเป็นปกติเป็นอุดมการณ์หลักในการปกครอง เพื่อที่จะควบคุมและจัดระเบียบว่าอะไรเหมาะสม อะไรไม่เหมาะสม |
.
.
.
แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน
—การที่เราไม่รู้สึกว่าเราเป็นเพศใดๆ มันคือสิ่งที่ปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน แต่เราเพียงแค่รู้สึกปลอดภัยกับการที่เรา identify ตัวเองว่าเราเป็นผู้หญิงนะ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตั้งคำถามจากสังคม และเพื่อให้อะไรๆ ในชีวิตมันง่ายขึ้น
เมื่ออ่านจบแล้ว เข้าใจถึงสาส์นที่ อลก เวด-เมนอน (Alok Vaid-Menon) กำลังจะชี้ให้เห็นถึงประสบการณ์ ขาว - ดำที่แตกต่างอย่างสุดขั้วของแต่ละเพศที่ได้รับจากสังคม แต่ถึงเวลาแล้วที่เรื่องเพศ ควรเป็นความรู้ที่ปราศจากมายาคติ อคติและความลำเอียง
มาสลัดความคิด อุดมการณ์ความปกติของสังคม และร่วมกันโอบกอดตัวตนของพวกเขาและเราที่ผลิบานและเติบโตไปด้วยกันเถ้อะะะ
.
.
.
.
Lesbian (adj) กลุ่มผู้หญิงที่มีความรัก ความต้องการทางเพศต่อผู้หญิงด้วยกัน
—สังคมไทยในอดีตเรียกความสัมพันธ์ลักษณะนี้ว่า “ เล่นเพื่อน” มีความหมายตามพจนานุกรมว่า ก. คบเพื่อนหญิงด้วยกันต่างชู้รัก
“ เล่นเพื่อน” เป็นคำเรียกพฤติกรรมระหว่างผู้หญิงด้วยกันของสาวชาววังที่มีปรากฏมานานแล้ว หากแต่ไม่มีการลงโทษอะไรเหมือนในสังคมตะวันตก เพราะสังคมไทยมองว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงมิตรภาพระหว่างผู้หญิง
แต่ก็เป็นเรื่องอื้อฉาวอยู่เหมือนกันนะ! ในช่วงของรัชกาลที่ 3 ได้ปรากฏบักทึกพฤติกรรม การเล่นเพื่อน ที่เป็นลายลักษณ์อักษรผ่านวรรณคดี กาพย์กลอนและจิตรกรรมฝาผนังต่างๆ และที่เป็นที่รู้กจักอย่างมากคือในผลงานของ “ คุณสุวรรณ” กวีชื่อดังในสมัยนั้นที่ได้แต่งเพลงยาวเรื่อง “ หม่อมเป็ดสวรรค์ ”โดยการนำพฤติกรรมการเล่นเพื่อนระหว่าง หม่อมสุด (คุณโม่ง) ที่มีกิริยาคล้ายผู้ชาย และหม่อมขำ(หม่อมเป็ด) ที่มีกิริยาแบบผู้หญิง โดยทั้งสองมีฐานะเป็นหม่อมห้ามของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ที่ต่างมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกันขณะที่เจ้านายกำลังหลับ นอกจากนี้ก็ยังมีบันทึก การเล่นเพื่อน อีกหลากหลายรูปแบบในสมัยต่อๆ มา…
แต่ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงด้วยกันจะมีปรากฏมาอย่างช้านานและไม่มีการลงโทษอะไรที่ร้ายแรง และแม้ปัจจุบันจะมีคู่รักหญิงรักหญิงใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะครอบครัวมากขึ้นแต่สังคมไทยก็ยังคงปฏิเสธที่จะยอมรับครอบครัวหญิงรักหญิงในฐานะครอบครัวอยู่ตลอดเวลาและมองว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่สิ่งใหม่ๆ กำลังจะเกิดขึ้นในยุคต่อๆ ไป และยิ่งร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว เรายิ่งมีหวังมากขึ้นไปอีกว่าอะไรๆในสังคมเรา มันกำลังจะดีขึ้นหละ!
.
.
.
.
หนังสือที่เราจะแนะนำ ไม่มีอะไรจะเข้ากันไปได้มากกว่าหนังสือเล่มนี้แล้วว
Carol แครอล
—Carol เป็นนิยายแนว pulp fiction ที่ฮิตถล่มทลายเนื้อเรื่องเป็นเรื่องเทาๆ ขัดต่อศีลธรรมแห่งยุค และเรื่องนี้จำเลยคือความรัก ที่รับหน้าที่เป็นอาชญากรรมตัวฉกาจ
..เรื่องราวความรักต้องห้ามที่มีฉากหลังเป็นนิวยอร์คยุค 50’s โดยมีความรักของบุคคลสองคนที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วเป็นตัวนำเรื่อง Carol และ Therese ตัวของ Therese เธอรัก หลงใหล คลั่งไคล้และบูชาในตัว Carol มาก ส่วน Carol เองก็ถูกออกแบบมาให้เป็นผู้หญิงที่ลึกลับน่าค้นหาเหมือนเป็น Symbolic sophisticated lady อย่างแท้จริง และถึงแม้ว่าความรักที่พวกเธอมีให้กันจะไม่ได้มีต้นแบบ หรือนิยามออกมาก เพียงเพราะยุคนั้นการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ไม่ควรพูดถึง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น มิตรภาพที่ก่อเกิดเป็นความรักนั้น กลับเบ่งบานอย่างไม่มีวันเลือนหาย