เกษียร เตชะพีระ
หมวดหมู่ : หนังสือสารคดี ,  Book ,  หนังสือการเมืองและสังคม , 
Share
วิจัย การบรรยาย ตลอดจนบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ ดร. เกษียร เตชะพีระ ในช่วงเวลาเกือบ 4 ทศวรรษ (พ.ศ. 2531–2566) ทั้งนี้ เจ้าตัวระบุเปรียบเปรยไว้ในคำนำผู้เขียน โดยเรียกสิ่งนี้ว่า “แผนที่การคิดสี่ทศวรรษ” แน่นอนว่าแผนที่การคิดนี้ หาใช่แค่การเห็นวิธีวิทยาหรือการทำงานวิชาการของเกษียรแต่เพียงอย่างเดียว หากยังเป็นบทวิเคราะห์ที่สัมพันธ์โดยตรงกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยนับแต่ทศวรรษ 2530–2560 ยึดโยงกับเหตุการณ์ที่เป็นจุดพลิกจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ ทั้งพฤษภาประชาธรรม 2535, รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดย คปค./คมช., รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดย คสช. ตลอดจนปรากฏการณ์สำคัญของสังคมการเมืองไทย อาทิ กระแสสูงของ “พระราชอำนาจนำ” (royal hegemony) หลังเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 ที่ท้ายสุดปะทะขัดแย้งกับ “ระบอบทักษิณ” ก่อนที่พระราชอำนาจนำจะเคลื่อนคลายลงในทศวรรษ 2550 พร้อมๆ กับปรากฏการณ์การเมืองสีเสื้อ “เหลือง” vs “แดง” ต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนผ่านรัชกาล (2559) ที่ชนชั้นนำไทยต้องเผชิญหน้ากับคลื่นความเปลี่ยนแปลง ทั้งจากสภาวะ “ทางแพร่งแห่งอำนาจนำ” ที่พวกเขายังแก้ไม่ตก ทั้งจากตัวแสดงทางการเมืองหน้าใหม่ที่พวกเขาไม่คุ้นเคย ปฏิกิริยาต่อต้าน ไม่สมยอมของ “ม็อบราษฎร” (2563) ที่ไม่อินังขังขอบกับอารมณ์ความรู้สึกทางการเมืองชุดเดิมและลุกขึ้นมาตั้งคำถามท้าทาย ตลอดจนการขยับท่าทีของชนชั้นนำไทยที่ดูจะยิ่งถอยห่างจากประชาธิปไตยจนยากที่จะหาคำนิยาม ทั้งหมดนี้สัมพันธ์กับการช่วงชิงประชาธิปไตย ที่ ณ ปัจจุบัน (2568) สภาวการณ์นี้ก็ยังฝุ่นตลบไม่แล้วเสร็จ
.