ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาการจัดสวนในฐานะที่เป็นงานศิลปะรูปแบบหนึ่งมาตลอดหลายพันปี เริ่มจากผืนดินโรยกรวดแปลงเล็ก (pebbled covered plot) แบบเรียบง่ายบนชายหาดหรือในป่าที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีเคารพดวงวิญญาณที่เชื่อกันว่ามาจากสรวงสวรรค์หรือข้ามน้ำข้ามทะเลมา, ในเวลาต่อมา ที่ดินแปลงเล็กโรยกรวดได้พัฒนาเป็นสวนกลางบ้านโรยหินแกลบ, ตามบ้านเรือนของผู้นำยุคก่อนประวัติศาสตร์และศาลเจ้าชินโต ประเพณีพื้นเมืองในยุคแรกนี้ผสมผสานกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติจากจีน และเกาหลี ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช และมาถึงจุดสูงสุดด้วยการเปิดตัว, อารยธรรมขั้นสูงในศตวรรษที่หกและเจ็ด อิทธิพลระลอกหลังนี้นำมาซึ่งงานเขียน พระพุทธศาสนา และสวนสไตล์ภาคพื้นทวีป (continental style garden) ซึ่งจัดรอบสระน้ำ, ประเพณีพื้นเมืองและภาคพื้นทวีปต่าง ๆ ยังคงมีปฏิสัมพันธ์กันมาตลอดหลายศตวรรษ และมักจะผสมผสานกันในรูปแบบต่าง ๆ, เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้านาย ขุนนาง วัด และศาลเจ้า จนในที่สุดก็รวมถึงสามัญชนด้วย ในกระบวนการนี้ญี่ปุ่นได้สร้างสวนบางรูปแบบซึ่งงดงามที่สุดและซับซ้อนที่สุดในโลก ปัจจุบันการทำสวนแบบญี่ปุ่นได้ถูกปรับให้เข้ากับความต้องการของสังคมยุคใหม่ และมีอิทธิพลสำคัญต่อสวนในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก, การเลือกก้อนหินที่แตกต่างกันทั้งเรื่องสี รูปร่าง และขนาด อย่างไรก็ตามสำหรับในหินก้อนเดียวกันนั้น หากมีตัวแปรมากเกินไปอาจรบกวนใจคุณ หากมองเห็นชั้นหิน (strata) หรือ สายแร่ (veining) ก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เรื่องสีก็เช่นกัน หากหินก้อนหนึ่งมีสีสันตัดกันมากเกินไปจะขาดความละเอียดอ่อน, หนึ่งในหลักการที่น่าสนใจของการออกแบบซึ่งถูกนำมาใช้ปลายยุคเอโดะ คือการออกแบบที่ดูเหมือนการสุ่มจัดวางหินหนึ่งก้อนหรือมากกว่าเพื่อให้ความรู้สึกต่อเนื่อง หินเหล่านี้ถูกเรียกว่า สึเตชิ (suteishi) หมายถึงหิน “ที่ถูกทิ้ง(discarded)” หรือหิน “ไร้นาม” อย่างไรก็ตามการจัดวางก้อนหินแบบไร้ศิลปะ (artless) แบบนี้ต้องทำอย่างมีฝีมือถึงจะบรรลุความสำเร็จสมดังปรารถนา...